6 วิธีขั้นตอนการแพ็คสินค้าอย่างถูกต้อง แข็งแรงปลอดภัย และประหยัดเวลา
Posted on: มีนาคม 7, 2024, by : MeowLogisก่อนอื่น ต้องเตรียมอุปกรณ์แพ็คของพื้นฐาน
- สินค้าที่จะส่ง
- กล่องพัสดุ หรือ ซองใส่พัสดุ
- บับเบิ้ล หรือ อุปกรณ์กันกระแทกต่าง ๆ เช่น กระดาษรังผึ้ง กระดาษฝอย
- อุปกรณ์ปิดผนึกพัสดุ เช่น สก๊อตเทป หรือ เชือกมัดกล่อง
- กรรไกร หรือ คัตเตอร์
1. เลือกขนาดกล่อง ซองพัสดุ ให้เหมาะสมกับขนาดสินค้า
เทคนิคการเลือกขนาดกล่องพัสดุที่ดีที่สุด คือ เลือกกล่องที่มีขนาดใหญ่กว่าสินค้าเล็กน้อย เผื่อพื้นที่สำหรับการห่อกันกระแทกเพิ่ม ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่เวลาส่งผ่านบริษัทขนส่งค่ายต่างๆ อาจจะมีการโยนของ หรือทับซ้อนหลายชั้น จนสินค้ามีความเสียหายระหว่างการจัดส่ง
หน้าที่ของคนแพ็คสินค้าที่เก่ง ต้องคิดคำนวณเลือกใช้ขนาดกล่องให้เหมาะสม ไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป เพื่อไม่ให้มีช่องว่างภายในกล่อง จนสินค้าที่อยู่ภายในเคลื่อนไหวไปมากระทบกันเอง หรือ กล่องยุบจนสินค้าบุบเสียหาย
ถ้าเรามีการขายสินค้าออนไลน์หลายรูปแบบ เพื่อความรวดเร็วในการแพ็คเราต้องเตรียม
กล่อง ซองพัสดุ ที่มีขนาดหลากหลายให้ครบ จะได้ไม่เสียเวลาในการหากล่อง และวุ่นวายวิ่งออกไปซื้อกล่องที่ไม่มี
2. ห่อกันกระแทก ป้องกันสินค้า
พลาสติกกันกระแทก หรือ Air Bubble มีหลากหลายรูปแบบเราจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับตัวสินค้า เช่น สินค้าที่ค่อนข้างแตกหักง่าย หรือ สามารถชำรุดระหว่างขนส่งได้ ควรห่อด้วย Air Bubble ตามความเหมาะสมพอดีกับขนาดกล่อง ไม่บางจนเกินไป และไม่หนาจนทำให้กล่องนูน บวม ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียหายของสินค้า
จุดที่ต้องระวังที่สุดมักจะเป็นจุด “มุม” ของสินค้า เช่น มุมกล่อง มุมหนังสือ มุมขวด การใช้บับเบิ้ลกันกระแทกจึงต้องมีการพันป้องกันมุมของสินค้าให้ดี เพื่อลด “การบุบ ยุบ หัก แตก” ของสินค้าประเภทต่างๆ
ในสินค้าบางประเภทอาจจะต้องการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษรังผึ้ง หรือกระดาษฝอย ควรจะมีการพันสินค้าให้มีความหนาที่พอดี และมีการแบ่งกั้นสินค้าภายในด้วยเศษกล่องพัสดุที่ใช้แล้ว เพื่อป้องกันสินค้าเสียดสีกระแทกกันเอง
3. ลดช่องว่างภายในกล่องพัสดุให้ได้มากที่สุด
การห่อบับเบิ้ลเป็นส่วนหนึ่งที่ป้องกันการเสียหายของสินค้าแต่ละชิ้น แต่ถ้าภายในกล่องยังมีช่องว่างเหลืออยู่พอที่จะทำให้สินค้าสามารถไหลไปมา หรือกลิ้งไปมากระแทกกันเองตลอดการเดินทาง จะทำให้สินค้าเสียหายหนักได้มากกว่าเหตุผลอื่นๆ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ตัวอย่างการเล่นเขย่าขนมหมีโคอาล่าไส้ช็อคโกแลตที่โด่งดังในหลายปีก่อน ที่หลายคนไปซื้อขนมมาเขย่ากล่องขนมโดยไม่ได้เปิดกล่อง เขย่าไปมาในกล่องไม่กี่นาที เมื่อเปิดถุงขนมหมีโคอาล่า ปรากฏว่าขนมจากหลายชิ้นแตกหักรวมกันเป็นลูกกลมลูกเดียว
ถ้าสินค้าของเรามีช่องว่างในกล่อง แล้วถูกเขย่าไปมาจนแตกหักกลายเป็นลูกกลมๆ แบบขนมโคอาล่า แบบนี้คงไม่ดีแน่
ดังนั้นทุกกล่องที่แพ็คสินค้า ควรอุดช่องว่างทุกจุดในกล่อง ด้วยเศษวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว หรือ วัสดุที่เป็นการป้องกันไม่ให้สินค้ากลิ้งไปมา ตัวอย่าง เศษ Air Bubble, เศษกล่องที่ใช้แล้วตัดตามต้องการ, โฟมมือสอง, กระดาษรีไซเคิล, กระดาษฝอย, ผักตบชวา หรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่ซับแรงได้ นำมาเสริมในช่องว่างของกล่องทุกจุด เพื่อให้เหลือช่องว่างน้อยที่สุด
เช็คทุกครั้งหลังแพ็คเสร็จ ลองเขย่าดูว่ามีเสียงของสินค้าขยับเขยื้อนไปมาไหม ถ้ายังขยับเขยื้อนไปมาได้แสดงว่ายังมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ ให้เปิดมาแพ็คใหม่
4. ปิดผนึก กล่องสินค้าอย่างหนาแน่นทุกมุม
หลังจากจัดสินค้าครบถ้วนจนไม่มีช่องว่างภายในกล่องแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปิดผนึกกล่องสินค้า
ปิดด้วยเทปกาว หรือ เทปใส เลือกเทปกาวให้เหมาะสมกับกล่องพัสดุ ควรเลือกเทปกาวที่มีความหนา กาวเหนียว เพื่อปิดกล่องพัสดุได้อย่างสนิทไม่หลุดระหว่างขนส่ง ปิดเทปให้ทั่วทุกด้านและแข็งแรงไม่ให้เหลือช่องว่างที่จะให้สินค้าหลุดออกมา
ถ้าสินค้ามีน้ำหนักมาก การปิดเทปช่วงด้านล่างควรจะเพิ่มจำนวนชั้นที่ปิดเพิ่ม เพื่อลดปัญหาก้นกล่องขาด
ถ้าสินค้าเสี่ยงต่อการเสียหายจากน้ำ ควรซีลด้วยพลาสติกอีกชั้น
5. ติดสติกเกอร์สัญลักษณ์ เตือนระหว่างขนส่ง
เสริมความปลอดภัยให้กับสินค้าด้วยการติดสติกเกอร์ หรือสัญลักษณ์ให้บริษัทขนส่ง และผู้รับปลายทางได้ระวัง เช่น สัญลักษณ์ติด “ระวังแตก” หรือ “วางสินค้าตามแนวตั้ง/แนวนอน” ที่จะทำให้ผู้ดูแลระหว่างทางระมัดระวัง ไม่โยนสินค้า หรือเอาของหนักทับสินค้าที่เราแพ็คส่ง
6. พิมพ์และติดใบปะหน้าผู้รับ/ผู้ส่ง รายละเอียดให้ชัดเจน
ขั้นตอนการพิมพ์ใบจ่าหน้ากล่องพัสดุ ควรเช็กให้เรียบร้อยว่ามี ชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทร ถูกต้องและครบถ้วนแล้วหรือยัง เพื่อการนำส่งสินค้าไปยังปลายทางที่ถูกต้อง รวดเร็วไม่ตกหล่นระหว่างทาง หรือในกรณีสินค้าถูกตีกลับจะถูกตีกลับมาหาเราต้นทางที่ถูกต้อง ขนาดของใบปะหน้าควรทำให้พอดีกับกล่องพัสดุไม่เล็ก หรือ ใหญ่จนเกินไปเพื่อความสวยงาม
บริการคลังสินค้าออนไลน์ 4 ขั้นตอน ของ Meow Logis ส่งของด่วน ไว ไปทั่วไทย ไม่ต้องแพ็คเอง
1. เก็บสินค้า (Store)
บริการพื้นที่เก็บสินค้ามาตรฐาน ราคาพื้นที่ถูก ปลอดภัย มีระบบอัพเดทยอดสต๊อกผ่านระบบ Online ไม่ยุ่งยาก
2. แพ็กสินค้า (Packing)
บริการแพ็คสินค้าด้วยทีมงานมืออาชีพ แพ็คอย่างมีมาตรฐาน มีบริการการแพ็คที่ยืดหยุ่นกับธุรกิจท่าน
3. ส่งสินค้า (Shipping)
บริการนำสินค้าที่แพ็ค ส่งตามบริษัทขนส่งต่างๆ ไม่ว่าจะ ไปรษณีย์ไทย, Kerry, Lalamove, SCGExpress หรือแม้กระทั่ง แมสเซนเจอร์ ใน กทม
4. สถิติ & ระบบ (Statistic)
บริการระบบสถิติการส่ง ทำงานมีระบบตรวจสอบได้ เห็นทั้งยอดสต๊อก ยอดขาย ค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ เงินไม่รั่วไหล สินค้าไม่ตกหาย เห็นสถิติยอดขาย รู้ถึงยอดค่าใช้จ่ายตามจริง นำไปวางแผนการตลาดให้ปังกว่าเดิม